กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับเครน กฎหมายตรวจสอบ ควบคุมเครน
ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะโรงงานผลิตสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้าที่มีน้ำหนัก ปัจจุบันมีการนำเอาเครนหรือปั้นจั่นมาใช้ในการทำงานมากยิ่งขึ้น เครื่องจักรประเภทนี้จำเป็นที่จะต้องมีเรื่องของการควบคุมด้านกระบวนการทำงานและการนำไปใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานและผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ทำงาน โดยในประเทศไทยก็มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับเครนและปั้นจั่นเช่นกัน โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
กฎกระทรวง :
ในส่วนนี้มีการระบุว่านายจ้างต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบเครนปั้นจั่น ตั้งแต่การติดตั้งตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตโดยวิศวกร ก่อนที่จะใช้งานเครนหรือปั้นจั่น (ต้องมีลายมือชื่อวิศวกรรับรองที่พนักงานตรวจแรงงานสามารถตรวจสอบได้)
ต้องทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง (ตามประเภทและลักษณะงาน) จัดให้มีชุดล็อกป้องกันหลุดจากตะขอ และตรวจสอบเครนให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีที่ครอบปิดหรือกั้นส่วนหมุนรอบ ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ หรืออันตราย พร้อมทั้งตั้งเครนปั้นจั่นห่างจากวัตถุอื่นในระยะที่ปลอดภัย
กรณีเครื่องที่สูงเกินสามเมตร (3m) เครื่องที่ต้องมีการจัดทำพื้น ทางเดินต้องมีพื้นชนิดกันลื่น ราวกันตก และแผงกันตกระดับพื้น มีเครื่องดับเพลิงที่เหมาะกับชนิดเครื่องที่ใช้งานในโรงงาน และการใช้งานที่ห้องบังคับ และในการติดตั้งเครื่องเครนและปั้นจั่นจะต้องอยู่บนฐานที่มั่นคงโดยมีวิศวกรเป็นผู้ตรวจสอบรับรอง
ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการการใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. ๒๕๕๓ :
- ห้ามนายจ้างนำลวดสลิงที่ถูกกัดกร่อน ชำรุด เป็นสนิมจนเห็นชัด มีร่องรอย เนื่องจาก ถูกความร้อนทำลาย ขมวดหรือแตกเกลียว มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง (เกินร้อยละห้าของอันเดิม)
- กรณีที่นำมาใช้เพื่อการผูก มัด หรือยึดต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๕ กรณีใช้เพื่อยึดโยงส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๓.๕ แต่ถ้าเพื่อใช้วิ่ง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๖
- กรณีใช้ผูก มัด หรือยืดโยงวัสดุ และใช้คลิปตัวยูยึดต้องมีคลิปอย่างน้อยสามตัว (ด้านท้องของคลิปยึดติดกับปลายลวดสลิงด้านที่รับแรง) นายจ้างจัดให้มีการควบคุมดูแลให้มีลวดสลิงเหลืออยู่ในม้วนลวดสลิง (ไม่น้อยกว่าสองรอบ) ขณะทำงาน
- ห้ามนำรอกใช้งานผิดประเภท, นายจ้างต้องใช้รอกที่ผลิตจากวัสตุแข็งแรง ทนทาน เมื่อนำมาใช้งานต้องไม่แตก บิ่น หรือชำรุด
- การใช้งานนายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการหลุดจากร่องรอก
- กำหนดมาตรการสำหรับผู้เกี่ยวข้อง ห้ามผู้ที่ไม่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณปฏิบัติงาน และนายจ้างต้องควบคุม ตรวจสอบการใช้ชุดรอกที่ใช้แขวนกระเช้านั่งร้านให้เป็นไปตามคุณลักษณะ คู่มือ คำแนะนำการใช้งานของผู้ผลิต พร้อมทั้งมีความแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถใช้งานได้ปลอดภัย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบ และอุปกรณ์ของปั้นจั่น :
เครื่องที่หยุดใช้งานตั้งแต่ ๖ เดือน หรือมีการซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ก่อนนำมาใช้ใหม่ต้องมีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ คือ ทดสอบการรับน้ำหนัก กล่าวคือ กรณีปั้นจั่นใหม่ขนาดไม่เกิน ๒๐ ตัน ทดสอบการรับน้ำหนักที่ ๑ เท่า แต่ไม่เกิน ๑.๐๕ เท่า ของพิกัดยกอย่างปลอดภัย และขนาดมากกว่า ๒๐ ตัน แต่ไม่เกิน ๕๐ ตัน ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่ม ๕ ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย ส่วนกรณีปั้นจันที่ใช้งานแล้วทดสอบการรับน้ำหนักที่ ๑๒๕ เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุดโดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด (กรณีไม่มีพิกัดให้กดสอบตามที่วิศวกรกำหนด น้ำหนักที่ใช้ทดสอบใช้น้ำหนักจริง หรือน้ำหนักจำลองก็ได้) การวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดการวัตขั้นต่ำ ๐.๑ มิลลิเมตร และการตรวจสอบแนวเชื่อม ให้ตรวจพินิจด้วยสายตา หรือโดยวิธีอื่นตามที่เหมาะสม
สนใจตรวจสอบ อบรม หรือติดตั้งเครน
เครนโรงงาน KP Factory Crane
8 หมู่ 5 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี Pathum Thani 12000
Tel: 095-741-9600