การทดสอบเครนหรือปั้นจั่น
ด้วยปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมของไทยนั้น มักพบว่ามีการนำเอาเครนหรือปั้นจั่นมาใช้ในการดำเนินงานค่อนข้างมาก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามลักษณะของสภาวะการทางด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงของการขยายตัวที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เครนหรือปั้นจั่นเป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อการทุ่นแรง และเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ เรื่องของการดำเนินงานของหลายๆที่ที่เรายังคงพบว่ามีข่าวการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานหรือการปฏิบัติงานด้วยเครนหรือปั้นจั่น โดยหน่วยงานหนึ่งที่เป็นหน่วยงานผู้ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในเรื่องนี้ นั่นคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งได้มีการกำหนดว่า “จะต้องมีการทำการตรวจสอบ ทดสอบเกี่ยวกับส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครนหรือปั้นจั่นที่เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554 โดยในการดำเนินการจะต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน หมายถึง วิศวกรเครื่องกล ผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำข้อมูล รายการที่จะต้องตรวจสอบ ทดสอบเสนอให้กับทางผู้จ้างเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องเน้นในเรื่องของหลักความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน หรือลูกจ้างที่เกี่ยวข้องทุกราย ในการตรวจสอบ ทดสอบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.กรณีเป็นเครนหรือปั้นจั่นที่ใช้ในงานประเภทการก่อสร้าง : ประเภทนี้หากเป็นเครื่องที่มีพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้ไม่เกินขนาดสามตัน จะต้องทำการตรวจสอบทดสอบทุกหกเดือน แต่หากกำหนดไว้มากกว่าขนาดสามตัน จะต้องทำการตรวจสอบทดสอบทุกสามเดือน
2.กรณีเป็นเครนหรือปั้นจั่นที่ใช้งานการทำงานประเภทอื่น : ประเภทนี้หากเป็นเครื่องที่มีพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้ตั้งแต่หนึ่งตัน ถึงสามตัน จะต้องทำการตรวจสอบ ทดสอบทุกปี แต่หากเป็นเครื่องที่มีพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้เกินกว่าสามตัน แต่ไม่ถึงห้าสิบตัน จะต้องทำการตรวจสอบ ทดสอบทุกหกเดือน หรือหากเป็นเครื่องที่มีพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ทางผู้ผลิตได้กำหนดไว้เกินกว่าห้าสิบตัน จะต้องทำการตรวจสอบ ทดสอบทุกสามเดือน
3. กรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดพิกัดการยกปลอดภัยตามที่ทางผู้ผลิตได้กำหนด จะต้องให้ทางวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้ที่ทำการกำหนดให้
4. กรณีที่เป็นเครนหรือปั้นจั่นที่ได้มีการหยุดนำมาใช้งาน หรือมีการนำไปซ่อมแซมอย่างน้อยหกเดือน ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน จะต้องได้รับการตรวจสอบ ทดสอบใหม่ก่อนนำมาใช้งานทุกครั้ง โดยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบรายการตรวจสอบ ทดสอบสำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่) (ปจ.1) หรือแบบรายการตรวจสอบ ทดสอบสำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่) (ปจ.2)
การตรวจสอบเครนประจำปี ตามกฎหมาย ปจ.1 (เทสโหลดเครนโรงงาน)
ทีมวิศวกรของ KP Factory Crane สามารถให้บริการตรวจสอบเครนในโรงงานอุตสาหกรรม ทดสอบน้ำหนักเครน (Crane Test Load) ทดสอบการใช้งานและความปลอดภัยของเครนที่ใช้งานในโรงงาน พร้อมทั้งออกเอกสารรับรอง ปจ.1 ปจ.2 โดยวิศวกรระดับสามัญเครื่องกลที่มีคุณสมบัติผู้ตรวจสอบเครน สามัญวิศวกรของเราสามารถให้การอบรมและทดสอบเครน (Test Load) และออกเอกสารรับรองความปลอดภัยในการทำงาน (ปจ.1, ปจ.2) เพื่อให้ท่านมั่นใจความปลอดภัยในการใช้งานเครน เช่น การตรวจสอบ Overhead Crane โดยการอบรมของเราจะเน้นสอนให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ทดสอบทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ อบรมโดยวิทยากรผู้ตรวจสอบเครนที่มีคุณสมบัติตามที่กฏหมายเครนกำหนด
สนใจติดต่อได้ที่ 095-741-9600 หรือ Line ID: @kunnapab
กฎหมายอบรมเครน
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ประกาศเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2554 ว่าด้วยการทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด แต่ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัย (SWL) ตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด เช่น โรงงานซื้อเครนขนาด 10 ตัน มาใช้งาน แต่โรงงานใช้เครนตัวนี้ยกของที่มีขนาดน้ำหนักมากสุดสูงสุดไม่เกิน 5 ตัน เมื่อถึงเวลาต้องทำการทดสอบ (Test Load) ตามกฏหมายตามหลักเกณฑ์วิธีการทดสอบการรับน้ำหนักคือ 5 x 1.25 = 6.25 ตัน ก็ต้องหาลูกน้ำหนักขนาด 6.25 ตันมาทำการยกทดสอบ
การตรวจสอบเครน ตรวจสอบอะไรบ้าง ?
- แบบปั่นจั่นเช่น ปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) ปั้นจั่นเหนือศีรษะ (Overhead Crane) ปั้นจั่นขาสูง (Gantry Crane) รอก (Hoist)
- ผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต วันที่ผลิต
- ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัย (Safe Working Load)
- รายละเอียดคุณลักษณะ (specification) และคู่มือการใช้การประกอบ การทดสอบ การซ่อมบำรุง และตรวจสอบ
- การแก้ไขดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของปั้นจั่น
- โครงสร้างปั้นจั่น
- สภาพโครงสร้างหลักปั้นจั่น
- สภาพรอยเชื่อม (Joints)
- สภาพของน็อต สลักเกลียวยึดและหมุดย้ำ
- การติดตั้งปั้นจั่นบนฐานที่มั่นคง
- ระบบต้นกำลัง
- ระบบมอเตอร์และระบบควมคุมไฟฟ้า
- ระบบส่งกำลัง ระบบตัดต่อกำลัง และระบบเบรก
- ครอบปิดหรือกั้น (Guard) ส่วนที่หมุน ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ หรือส่วนที่อาจเป็นอันตราย
- ระบบควบคุมการทำงานของปั้นจั่น
- Limit Switched
- การเคลื่อนที่บนรางหรือแขนของปั้นจั่น
- การทำงานของชุดควบคุมพิกัดน้ำหนักยก
- สภาพของลวดสลิงเคลื่อนที่(Running Ropes)/โซ่ (Running Chains)
- สภาพของลวดสลิง/โซ่
- อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ล้อเลื่อนตกจากรางด้านข้าง
- ปั้นจั่นที่มีความสูงเกินสามเมตร ต้องมีบันไดพร้อมราวจับและโครงโลหะกันตก
- การจัดทำพื้นชนิดกันลื่น ราวกันตก และแผงกันตกระดับพื้น (ชนิดที่ต้องจัดทำพื้นและทางเดิน)
- สัญญาณเสียงและแสงไฟเตือนตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงาน
- ป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ปั้นจั่น และรอกของตะขอ
- ตารางยกสิ่งของติดไว้ในบริเวณที่ผู้บังคับปั้นจั่นเห็นได้ชัดเจน
- รูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ติดไว้ที่จุดหรือตำแหน่งที่ลูกจ้าง ปฏิบัติงานได้ชัดเจน
- เครื่องดับเพลิงพร้อมใช้งานได้ที่ห้องบังคับปั้นจั่น
- อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ
- การทดสอบการรับน้ำหนักปั้นจั่นในครั้งนี้ เป็นการทดสอบในกรณี
- น้ำหนักยกที่อนุญาตให้ใช้งาน
ตัวอย่างแบบฟอร์มปจ. 1
พื้นที่ให้บริการเทสโหลดเครนและรับซ่อมเครนโรงงาน
กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา อยุธยา ชลบุรี ระยอง
ทางเครนโรงงานคุณภาพเราไม่ได้แค่รับตรวจสอบเครนเท่านั้น แต่ยังรับออกแบบ คำนวณโครงสร้าง และติดตั้งเครนโรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครนโรงงาน