เครนเหนือศีรษะ (Overhead Crane)
เครนเหนือศรีษะหรือที่เรียกกันทับศัพท์ในวงการเครนว่า ‘โอเวอร์เฮดเครน’ เป็นเครนที่นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างรองรับเครนที่แข็งแรง โอเวอร์เฮดเครนที่มักนิยมใช้กันในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ (Double Girder) และ เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว (Single Girder)
เครนเหนือศีรษะนั้น สามารถติดตั้งได้ทั้งในโรงงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รางของเครนจะติดตั้งกับโครงสร้างหลักของอาคาร โดยตัวรางจะอยู่สูงกว่าพื้นทางเดิน มีทั้งเครนแบบรางสูงและรางต่ำ หนึ่งตะขอยก หรือสองตะขอยกขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ เครนสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมอเตอร์ในการเคลื่อนที่ได้หกทิศทาง
เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว (Over Head Crane Single Girder)
โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยวเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรม มักใช้กันโรงงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ความกว้างของโรงงานไม่เกิน 22 เมตร โครงสร้างโรงงานที่เหมาะสมกับการติดตั้ง ควรถูกออกแบบให้พื้นที่ภายในโล่งตลอด ไม่มีเสาเกะกะและโครงสร้างควรมีเสาขนาดใญ่โดยรอบ เพื่อให้สามารถรับน้่าหนักคานเหล็กและทางวิ่งของเครน (Runway) ที่จะยึดกับส่วนบนของโรงงานได้ เครนเหนือศีรศะแบบคานเดี่ยวจะเหมาะกับการใช้ยกของที่ไม่หนักมาก โดยมาตรฐานแล้วจะอยู่ที่ 1 ตัน ไปจนถึง 12.5 ตัน การทำงานของเครนจะมี 2 จังหวะ คือจังหวะช้ากับจังหวะเร็ว
เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ (Over Head Crane Double Girder)
เครนไฟฟ้ารูปแบบนี้เป็นเครนรูปแบบที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากแบบคานเดี่ยว แต่แบบคานคู่จะเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดที่ต้องใช้การยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 ตัน ไปจนถึง 50 ตัน โดยเครนโรงงานแบบคานคู่จะเหมาะกับโรงงานที่มีขนาดใหญ่ และตัวโรงงานจำเป็นต้องมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ไปจนถึง 30 เมตร โดยลักษณะการทำงานเครนแบบคานคู่ ออกแบบและติดตั้งจะคล้ายกับแบบคานเดี่ยวต่างกันตรงคานกลางเป็นแบบคู่ ทำให้เครนเหนือศรีษะแบบคานคู่จะสามารถยกน้ำหนักได้ดีกว่าแบบคานเดี่ยว ปลอดภัยต่อการใช้งานเมื่อยกวัสดุที่มีน้ำหนักมาก โดยบางโรงงานอุตสาหกรรมอาจเลือกใช้เป็นเครนโรงงาน 5 ตัน หรือเครนโรงงาน 10 ตัน เป็นต้น
ข้อจำกัดของการติดตั้งเครนแบบคานคู่
ในส่วนของข้อจำกัด ตัวโอเวอร์เฮดเครนแบบคานคู่จะมีน้ำหนักมากกว่าแบบเครนแบบคานเดี่ยว ทำให้โครงสร้างของโรงงานจำเป็นต้องถูกออกแบบให้แข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของเครนได้ อีกทั้งโรงงานต้องถูกออกแบบรองรับขนาดความกว้างและความสูงของเครน เช่น ความกว้าง 20 เมตร ความสูงจากพื้นถึงระยะตะขอใต้คานมากกว่า 6 เมตร ด้านการทำงานจะสามารถทำงานได้ 2 จังหวะเช่นเดียวกับแบบคานเดี่ยว แต่เนื่องจากปกติเครนแบบคู่จะใช้ยกของที่มีน้ำหนักมาก โครงสร้างจึงจำเป็นต้องมีลักษณะใหญ่ เพื่อความปลอดภัยจึงควรเลือกใช้ความเร็วที่ช้ากว่าแบบคานเดี่ยว
ส่วนประกอบของ Overhead Crane มีอะไรบ้าง ?
- รอกไฟฟ้า
- ชุดอุปกรณ์ขับเคลื่อนตามแนวยาว
- ชุดอุปกรณ์ไฟตามแนวขวาง
- ชุดระบบรางไฟตามแนวยาว
- ชุดอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย
- ชุดทางวิ่ง และรางวิ่งเครน
ทำไมต้องติดตั้งเครนกับทีมงาน KP Factory Crane
- ทีมงานติดตั้งเป็นวิศวกรเครื่องกลมืออาชีพที่มีประสบการณ์การติดตั้งมานานกว่า 20 ปี
- มีบริการให้คำปรึกษาก่อนการติดตั้ง
- ใช้เทคนิคการติดตั้งรอกที่ได้มาตรฐานในระดับสากล (JIS ISO 9001)
- อุปกรณ์ติดตั้งมีมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นรอกไฟฟ้า อุปกรณ์ขับเคลื่อน หรืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
- มีบริการหลังการติดตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
KP Factory Crane ให้บริการติดตั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงในจังหวัดชลบุรีและระยอง
หากลูกค้าสนใจติดตั้งเครนเหนือ หรือ (Overhead Crane) สามารถติดต่อทีมงานได้ทันทีผ่านทางเบอร์โทร 095-741-9600 หรือ add line: @kunnapab ทางทีมงานมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้คำแนะเกี่ยวกับเครนที่เหมาะสมกับโรงงานของลูกค้า เพื่อลูกค้าจะสามารถใช้เครนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัย หรือหากลูกค้ามีเครนอยู่แล้ว ต้องการหาช่างตรวจเช็ค บำรุงรักษา ทดสอบน้ำหนัก ทางเราก็มีบริการตรวจสอบเครนพร้อมออกใบรับรองปจ.1 โดยวิทยากรทตรวจสอบเครนที่ผ่านการอบรมและคุณสมบัติตามที่กฏหมายกำหนด
นอกจากเหนือจากเครนเหนือศีรษะแล้ว ทาง KP Factory Crane ยังรับออกแบบและติดตั้งเครนแบบอื่นๆ ด้วย เช่น เครนสนามล้อเลื่อน เครนสนามขาสูง เครนปั้นจั่น เป็นต้น