ติดตั้งเครนโดย เคพี แฟคตอรี่ เครน

มาทำความรู้จักเครนโรงงานเพื่อการอุตสาหกรรมกันเถอะ !!!

เครนโรงงาน มีหลากหลายรูปแบบ โดยเครนที่นิยมใช้ในโรงงานคือ โอเวอร์เฮดเครน (Overhead Cranes) ซึ่งเป็นเครนที่มีลักษณะอยู่สูงเหนือศีรษะ การทำงานสามารถปรับได้ตามความต้องการ นิยมใช้ในพื้นที่กว้างที่อยู่ภายในโรงงานหรือในลานกว้างของโรงงานก็ได้ ลักษณะการเคลื่อนย้ายจะประกอบด้วย 6 ทิศทาง ได้แก่ แนวขึ้นตรง แนวลงล่าง แนวเดินหน้า แนวถอยหลัง แนวซ้าย และแนวขวา เครนโรงงานมีหลายประเภท อาทิเช่น

ติดต่อโดยโทรติดต่อทางไลน์

1. เครนประเภทรางเดี่ยว หรือคานเดี่ยว (Single Girder Overhead Cranes)

เครนประเภทเหนือศีรษะนี้เหมาะต่อการนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เน้นในเรื่องของการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เนื่องจากโครงสร้างของ Overhead Crane (โอเวอร์เฮดเครน) มีลักษณะเบา กว้างไม่เกิน 25 เมตร น้ำหนักไม่เกิน 12.5 ตัน ควรใช้ในพื้นที่ที่หลังคาไม่สูง และที่บริเวณด้านล่างของรางวิ่งจะมีการติดรอกไฟฟ้ายึดไว้ด้วย สำหรับระยะปลอดภัยไม่ควรเกินกว่า 1/6 ของตัวเครน และความเร็วที่ควรใช้ คือ การเคลื่อนที่แบบช้า และแบบเร็ว โดยเคลื่อนย้ายไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองแบบ เครนประเภทนี้นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบประเภทที่เป็นด้านการผลิตบรรดาสินค้าต่าง ๆ และยังช่วยในเรื่องของการอำนวยความสะดวกเวลาต้องเคลื่อนย้ายของ

2. เครนประเภทรางคู่ หรือคานคู่ (Double Girder Overhead Cranes)

เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่

เครนแบบรางคู่หรือคานคู่จะเป็นเครนที่มีการติดตั้งส่วนของรอกไฟฟ้าไว้ที่บริเวณส่วนบนของตัวคาน (ติดตั้งระหว่างคานทั้งสองตัว) ประเภทนี้มีความเหมาะต่อการนำไปใช้ในโรงงานที่ต้องการยกของหนักๆ หรือใช้กับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิเช่น ภาคอุตสาหกรรมสารเคมี โรงงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า และภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับมอเตอร์หรือรถยนต์ ฯลฯ โดยทั่วไปมีขนาดไม่เกิน 30 เมตร สามาถยกสิ่งของได้ไม่เกิน 50 ตัน และความเร็วที่ควรใช้ คือ การเคลื่อนที่แบบช้า และแบบเร็ว โดยเคลื่อนย้ายไปในทิศทางเดียวกันทั้งสองแบบ แต่สิ่งสำคัญ คือ เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเลือกใช้เครนที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นจากเดิมควรเลือกความเร็วที่ช้าลงเพื่อให้ในการปฏิบัติงานยังคงมีความปลอดภัย

3. เครนประเภทเหนือศีรษะแบบที่อยู่ใต้รางวิ่ง (Suspension Crane)

เครนโรงงานประเภทนี้จะอยู่ติดกับส่วนของคานล้อ อยู่ใต้ราง สำหรับเครนหนึ่งตัวจะสามารถเลือกใช้ชุดคานได้มากกว่า 1 ชุดได้ เพื่อเป็นการช่วยประคอง รับน้ำหนัก เหมาะสำหรับภคอุตสาหกรรมที่ต้องการเน้นไปที่การใช้พื้นที่โซนล่างให้มากที่สุด กว้างที่สุด อาทิเช่น ภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอากาศยาน ฯลฯ

4. เครนประเภทสนามแบบขาสูงทั้ง 2 ข้าง (Gantry Cranes) และขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)

เครนสนามขาสูง 2 ข้าง

เครนประเภทนี้นิยมใช้ในโรงงานแต่ต้องเป็นการใช้งานในพื้นที่ที่เป็นกลางแจ้งจะดีที่สุด ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่เหมาะต่อการใช้เครนประเภทนี้ ได้แก่ โรงงานที่ผลิตประเภทสินค้ากับประเภทเสาเข็ม หรือภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับงานคอนกรีต เป็นต้น

5. เครนประเภทรางเลื่อนแบบไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail Crane)

ปั้นจั่นรางเลื่อนไฟฟ้า Monorail Crane

เครนประเภทนี้ตัวรอกจะติดและเคลื่อนไปตามแนวรางวิ่ง ซึ่งจะเน้นการติดตั้งตามสภาพของโครงสร้างด้านกระบวนการผลิตของโรงงานนั้น ๆ สามารถเคลื่อนเป็นแนวตรงหรือแนวโค้งได้ตามความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน เหมาะกับโรงงานที่ต้องการใช้เพียงเฉพาะจุด เฉพาะพื้นที่เท่านั้น สามารถยกน้ำหนักได้ไม่เกิน 3,000 กิโลกรัม

6. เครนประเภทแขนหมุน (Jib Crane)

เครนปั้นจั่น แบบคานยึดกับเสา

จิ๊บเครน (Jib Crane) ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่องานที่ต้องการยกวัตถุที่มีรอบรัศมีวงแหวนยื่นหมุนไปตามรัศมีของเครน เช่น ท่อส่งน้ำมันที่มีความยาว 5-10 เมตรขึ้นไป (จิ๊บเครนสามารถทำมุมได้ตั้งแต่ 90 องศา ถึง 360 องศา) โดยทั่วไปแล้ว Jib Crane จะใช้สำหรับยกน้ำหนักได้ไม่เกิน 10,000 กิโลกรัม (1 ตัน) นิยมใช้ในโรงงานมากกว่า สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ เครนแบบตั้งเสายื่น และเครนแบบยึดติดผนัง

7. เครนประเภทยึดติดผนังแบบยื่นแขนยก (Wall Travelling Crane)

เครนปั้นจั่นแบบติดผนัง
jib crane (wall type)

เครนประเภทนี้เป็นเครนที่ถูกยึดติดไว้ที่บริเวณของรางวิ่งกับส่วนของเสาผนังโรงงาน มีตัวชุดคานที่สามารถยื่นออกได้อย่างอิสระเพื่อการใช้ยกสิ่งของ เหมาะกับการนำไปใช้เพื่อการยกสิ่งของที่เคลื่อนตามแนวยาวทางไปกับตัวผนังอาคาร จะสะดวกกว่าเครนประเภทสนามแบบขาสูงข้างเดียว

สนใจติดตั้งเครน ติดต่อทีมงานมืออาชีพ

เครนโรงงาน KP Factory Crane
8 หมู่ 5 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี Pathum Thani 12000
Tel: 095-741-9600

เครนโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตามผลงานของได้ทางช่องทาง Social Media ได้แล้ว

KP Factory Crane Facebook Fan page ติดตามช่อง KP Factory Crane

บทความที่เกี่ยวข้อง