ส่วนประกอบของเครน มีอะไรบ้าง?

ส่วนประกอบของเครนโรงงาน

โอเวอร์เฮดเครน (Overhead Crane) หรือ เครนเหนือศีรษะ ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือน้ำหนักมาก ซึ่งมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ถึง 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง มีทั้งแบบคานคู่ และคานเดี่ยวขึ้นอยู่กับขนาด (Capacity) และความกว้าง (Span) ของเครน รวมกับรอก (Hoist) เพื่อช่วยในเรื่องการวิ่งของคานในแนวนอนไปตามรางทั้งสองข้างที่แยกออกจากกัน มีความกว้างประมาณหนึ่ง

เครนประเภทนี้ ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งภายในอาคารของโรงงาน จะมี 2 แบบ เครนเหนือศีรษะแบบเดี่ยว (Single Girder Overhead Cranes) จะมีการติดตั้งรอกไฟฟ้าไว้ใต้รางวิ่ง และเครนเหนือศีรษะแบบคู่ (Double Girder Overhead Cranes) โดยจะมีการติดตั้งรอกไฟฟ้าไว้ที่ด้านบนระหว่างคานสองตัว โอเวอร์เฮดเครนเหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเคมี และโรงไฟฟ้า เป็นต้น

ส่วนประกอบของเครนเหนือศีรษะ (Overhead Crane) มีอะไรบ้าง ?

  1. รอก (Hoist) มีทั้งแบบไฟฟ้าและแมนนวล เป็นรอกสลิงแบบวิ่งบนคานหรือใต้คานได้ ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ช่วยในการผ่อนแรงในการยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ไปในทิศทางข้นและลงรวมถึงในการเคลื่อนที่ทางซ้ายและทางขวาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนคานล้อคือ ชุดล้อที่วิ่งตามเครนที่ติดตั้งรองรับส่วนปลายของคานรับน้ำหนักทั้ง 2 ด้านเพื่อขับเคลื่อนเครนไฟฟ้า ให้วิ่งไปตามรางวิ่งของเครน รอกโซ่ไฟฟ้า (Electric Chain Hoist) จะมีโครงสร้างที่พอ เหมาะ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารสามารถเพิ่ม ระยะยกโดยการเปลี่ยนความยาวโซ่ใหม่ได้ตามความต้องการ ส่วนรอกโซ่มือ (Manual Chain Hoist) เป็นรอกมือไม่มีชิ้นส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ต้อง้ใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับงาน ยกแบบครั้งคราว
  2. คาน (electric Hoist) คานรับน้ำหนักของเครน (Box Girder) มีลักษณะเป็นโครงสร้างเหล็ก ซึ่งมีความยาวตามแนว ขวางตามความกว้างของอาคาร หรือพื้นที่สำหรับใช้งาน คานของเครนนั้นจะมีคุณสมบัติไว้สำหรับรับน้ำหนักของชุดรอกไฟฟ้า เพื่อยกวัตถุที่มีน้ำโดยปลายชุดคานเครนทั้ง 2 ข้างจะติดตั้งอยู่ชุดขับเคลื่อนเครนตามแนวยาว ส่วนรางวิ่งเครน (Runway and Rails) จะใช้เป็นทางวิ่งของเครนเพื่อเป็น คานรองรับน้ำหนักที่ได้ยกขึ้นจากชุดเครนไฟฟ้าที่เคลื่อนตัวไปมา
  3. End carriage Saddle หรือ End Truck อานเครน มีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้าและแบบไม่มีแยกออกเป็นแบบวิ่งบนราง (TOP RUNING) และใต้ราง (UNDER RUNNING)
  4. Runway เป็นรางเครนมีแบบสำหรับเครนวิ่งบนราง และ วิ่งใต้ราง แบบวิ่งบนจะใช้เหล็กรางรถไฟRAIL เป็นรางหรือเหล็กสี่เหลี่ยมตัน SQARE BAR ยึดเข้ากับตัวคานรองรับที่อาจจะเป็นเหล็กเอชบีม ไอบีม หรือเหล็กกล่องประกอบ เป็นต้น
  5. มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลการทำงานปกติของ มอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทา งานร่วมกนั ระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวด ทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสองได้
  6. เกียร์มอเตอร์สำหรับขับล้อที่อยู่กับอาน (End carriage)
  7. สวิตซ์กด ( Buton Switch ) มีแบบ ยึดสายไฟ Pendant กับ รีโมท remote control 
  8. Control Box
  9. ลวดสลิงยกของ (Wire Rope Sling) และอุปกรณ์ยกของที่เป็นจำในการต่อลวดสลิงหรือทำห่วง
  10. Stopper 
  11. รางสำหรับสายไฟ 
  12. สายไฟสำหรับรอกไฟฟ้า
  13. สายไฟสำหรับส่งไปที่ปุ่มกด

จากที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น จะเป็นความรู้เกี่ยวกับเครนเหนือศรีษะ ที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ โดยมีหลักความสำคัญที่สอดคล้องกับการออกแบบอุปกรณ์ให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสม สะดวกต่อการบำรุงรักษาที่ง่ายและมีความปลอดภัยจากการใช้งานประเภทนี้อีกด้วย

อุปกรณ์ติดตั้งโอเวอร์เฮดเครน แบบคานเดี่ยว

สนใจตรวจติดตั้งเครนโรงงาน

https://www.kpfactorycrane.com

ติดต่อทางไลน์ ติดต่อโดยโทร

เครนโรงงาน KP Factory Crane
8 หมู่ 5 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี Pathum Thani 12000
Tel: 095-741-9600

จำหน่ายเครนในโรงงาน